ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557
ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557

ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557

Yoram Cohen
หัวหน้าหน่วยชิน เบทวันที่ 8 กรกฎาคม 2557 กองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เปิดฉากปฏิบัติการโพรเทกทิฟเอดจ์ (อังกฤษ: Operation Protective Edge, ฮีบรู: מִבְצָע צוּק אֵיתָן‎, ปฏิบัติการปกป้องขอบแดน) ในฉนวนกาซาที่ฮะมาสควบคุม จากนั้น การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลและการโจมตีด้วยจรวดของปาเลสไตน์นานเจ็ดสัปดาห์ ตลอดจนการระดมยิงและการต่อสู้ในการบุกครองภาคพื้นดินและการโจมตีผ่านอุโมงค์ข้ามชายแดน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,100 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์[8][9][14][15]ความมุ่งหมายที่แถลงของปฏิบัติการของอิสราเอลคือหยุดการโจมตีด้วยจรวดจากกาซาสู่อิสราเอล ซึ่งกลุ่มแยกมิใช่ฮะมาสเริ่มต้นหลังการปราบปรามฮะมาสในเวสต์แบงก์ของอิสราเอล อันเนื่องจากการลักพาตัวและฆ่าวัยรุ่นชาวอิสราเอล 3 คนโดยสมาชิกฮะมาส[16] และฮะมาสเองเริ่มหลังการโจมตีทางอากาศในวันที่ 6 กรกฎาคมซึ่งฆ่านักรบฮะมาสเจ็ดคนในข่านยูนิส (Khan Yunis)[16][17][18] ในวันที่ 17 กรกฎาคม ปฏิบัติการขยายผลสู่การบุกครองภาคพื้นดินโดยมีความมุ่งหมายที่แถลงเพื่อทำลายระบบอุโมงค์ของกาซา[19]ในวันที่ 26 สิงหาคม IDF รายงานว่า ฮะมาส อิสลามญิฮาดและกลุ่มนักรบอื่นยิงจรวดและปืนครก 4,500 ลูกจากกาซาสู่อิสราเอล[20][21] ขณะที่ IDF โจมตีเป้าหมาย 5,263 แห่งในกาซา มีอุโมงค์ที่ทราบถูกทำลายอย่างน้อย 34 แห่ง[20] และสองในสามของคลังจรวด 10,000 แห่งของฮะมาสถูกใช้หมดหรือถูกทำลาย[22][23] กระทรวงมหาดไทยปาเลสไตน์รายงานว่า จนถึงวันที่ 22 สิงหาคม มีระเบิดถูกทิ้งใส่กาซา 20,000 ตัน[24][25] การหยุดยิงหลายครั้งล้มเหลวหรือหมดอายุ[26] ในวันที่ 26 สิงหาคม มีการประกาศหยุดยิงปลายเปิด[27]ชาวกาซาเสียชีวิตระหว่าง 2,000[28] ถึง 2,143 คน[13] (รวมเด็ก 495–578 คน)[8][9] และได้รับบาดเจ็บระหว่าง 10,895[29] ถึง 11,100 คน[9] ขณะที่ทหาร IDF 66 นาย พลเรือนอิสราเอล 5 คน และพลเรือนไทย 1 คนเสียชีวิต[8] และทหาร IDF 450 นายและพลเรือนอิสราเอล 80 คนได้รับบาดเจ็บ[11] กระทรวงสาธารณสุขกาซา สหประชาชาติและกลุ่มสิทธิมนุษยชนว่า ความสูญเสียของปาเลสไตน์ 70–75% เป็นพลเรือน[8][13][29] อิสราเอลแถลงว่า 50% เป็นพลเรือน[28][30] วันที่ 5 สิงหาคม สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติแถลงว่า ชาวปาเลสไตน์ 520,000 คนในฉนวนกาซา (ประมาณ 30% ของประชากร) อาจพลัดถิ่น ในจำนวนนี้ 485,000 คนต้องการความช่วยเหลืออาหารฉุกเฉิน[31] และ 273,000 คนหลบภัยในโรงเรียนที่สหประชาชาติดำเนินการ 90 แห่ง[32] บ้านกาซา 17,200 หลังถูกทำลายทั้งหมดหรือได้รับบความเสียหายอย่างหนัก 37,500 หลังได้รับความเสียหายแต่ยังอาศัยได้[8] ในอิสราเอลมีพลเรือนประมาณ 5,000[33] ถึง 8,000 คน[34]หนีจากบ้านเนื่องจากภัยคุกคามจากการโจมตีด้วยจรวดและปืนครก[33]

ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557

สถานะ ทั้งสองฝ่ายอ้างชัยชนะ[1]
  • อิสราเอลอ้างว่า ฮะมาสอ่อนแอลงมาก และไม่บรรลุข้อเรียกร้องใด[2]
  • ฮะมาสอ้างว่า อิสราเอลถูกขับออกจากกาซา[3]
วันที่สถานที่สถานะ
วันที่8 กรกฎาคม 2557 – 26 สิงหาคม 2557
สถานที่ฉนวนกาซา และเมืองใกล้ชายแดนของอิสราเอล
สถานะทั้งสองฝ่ายอ้างชัยชนะ[1]
  • อิสราเอลอ้างว่า ฮะมาสอ่อนแอลงมาก และไม่บรรลุข้อเรียกร้องใด[2]
  • ฮะมาสอ้างว่า อิสราเอลถูกขับออกจากกาซา[3]
สถานที่ ฉนวนกาซา และเมืองใกล้ชายแดนของอิสราเอล
วันที่ 8 กรกฎาคม 2557 – 26 สิงหาคม 2557

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 http://www.thenational.ae/world/middle-east/gaza-p... http://globalnews.ca/news/1501568/israel-accepts-e... http://www.bbc.com/news/world-middle-east-28252155 http://www.bbc.com/news/world-middle-east-28939350 http://blogs.channel4.com/miller-on-foreign-affair... http://www.foxnews.com/world/2014/08/06/ap-analysi... http://www.jewishpress.com/news/breaking-news/idfs... http://www.jpost.com/Arab-Israeli-Conflict/Netanya... http://www.jpost.com/Operation-Protective-Edge/Isr... http://www.jpost.com/Operation-Protective-Edge/Vid...